เมนู

[พระพุทธเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปเฉพาะ 3 มณฑล]


ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะเสด็จเที่ยวจาริกไปในชนบท ย่อมเสด็จ
เที่ยวไปในมณฑลใดมณฑลหนึ่งบรรดามณฑลทั้ง 3 เหล่านี้ คือ :- มหา-
มณฑล
(มณฑลใหญ่) 1 มัชฌิมมณฑล (มณฑลปานกลาง) 1 อันติม-
มณฑล
( มณฑลเล็ก) 1.
บรรดามณฑลทั้ง 3 นั้น มหามณฑล ประมาณเก้าร้อยโยชน์
มัชฌิมมณฑล ประมาณหกร้อยโยชน์ อันติมมณฑล ประมาณสามร้อยโยชน์
ในกาลใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระประสงค์จะเสด็จเที่ยวจาริก
ไปในมหามณฑล ในกาลนั้น ทรงปวารณาในวันมหาปวารณาแล้ว มีภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกในวันปาฏิบท เมื่อจะทรงอนุเคราะห์มหาชนใน
บ้านและนิคมเป็นต้น ด้วยการทรงรับอามิส และเมื่อจะทรงเพิ่มพูนกุศล อัน
อาศัยวิวัฏฏคามินี แก่มหาชนนั้นด้วยธรรมทาน ทรงยังการเสด็จเที่ยวจาริกไป
ในชนบท ให้เสร็จสิ้นลงโดย 9 เดือน.
ก็ถ้าภายในพรรษา สมถะและวิปัสสนาของภิกษุทั้งหลาย ยังอ่อนอยู่.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงปวารณาในวันมหาปวารณา ทรงประทานปวารณา
สงเคราะห์ ไปปวารณาในวันเพ็ญเดือนกัตติกา (กลางเดือน 12) เสร็จแล้ว
มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จขออกไปในวันต้นแห่งเดือนมิคสิระ (เดือน
อ้าย) แล้วยังการเสด็จเที่ยวจาริกไปในมัชฌิมมณฑล ให้เสร็จสิ้นลงโดย 8
เดือน ตามนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.
ก็ถ้าเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ของพุทธเจ้าผู้เสด็จออกพรรษาแล้วเหล่านั้น
ยังมีอินทรีย์ไม่แก่กล้า. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ทรงรอคอยให้เวไนยสัตว์
เหล่านั้นมีอินทรีย์แก่กล้า เสด็จพักอยู่ในสถานที่นั้นนั่นเอง แม้ตลอดเดือน

มิคสิระแล้ว มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จออกไปในวันต้นแห่งเดือน
ปุสสะ (เดือนยี่) แล้ว ทรงยังการเสด็จเที่ยวจาริกไปในอันติมมณฑล ให้เสร็จ
สิ้นลงโดย 7 เดือน ตามนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.
อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้เมื่อเสด็จเที่ยวไปในบรรดามณฑล
เหล่านั้นแห่งใดแห่งหนึ่ง ทรงปลดเปลื้องสัตว์เหล่านั้น ๆ ให้พ้นจากกิเลส
ทั้งหลาย ทรงประกอบสัตว์เหล่านั้น ๆ ไว้ ด้วยอริยผลมีโสดาปัตติผลเป็นต้น
เสด็จเที่ยวไปอยู่ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์เท่านั้น ดุจทรงเก็บกอกไม้เบญจ-
พรรณนานาชนิดอยู่ฉะนั้น.
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- ในเวลาจวนรุ่งสว่างทุก ๆ วัน
การทำพระนิพพานอันเป็นสุขสงบให้เป็นอารมณ์ เสด็จเข้าผลสมาบัติออกจาก
ผลสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสมาบัติอันประกอบด้วยพระมหากรุณา ภายหลังจากนั้น
ก็ทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้พอจะแนะนำให้ตรัสรู้ได้ในหมื่นจักรวาล
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- การทรงทำปฏิสันถารกับพวก
อาคันตุกะเสียก่อน ทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจเรื่องที่เกิดขึ้น ครั้นโทษ
เกิดขึ้น ทรงบัญญัติสิกขาบท นี้เป็นพุทธาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของ
พระพุทธเจ้า) ดังพรรณนาฉะนี้แล.

[สาวกาจิณณะ ความเคยประพฤติมาของพระสาวก]


สาวกาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของพระสาวก) เป็นไฉน ? คือ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า (ยังทรงพระชนม์อยู่) มีการประชุม
(พระสาวก) 2 ครั้ง คือ เวลาก่อนเข้าพรรษาและวันเข้าพรรษา เพื่อเรียน
เอากรรมฐาน 1 เพื่อบอกคุณที่ตนได้บรรลุแก่ภิกษุผู้ออกพรรษามาแล้ว 1